Review : กล้อง Samsung Mirrorless Smart Camera NX2000 แชร์ภาพถ่ายง่ายทันใจ

SONY DSC

Samsung เปิดตัวกล้อง Mirrorless ระดับ new entry รุ่น NX2000 เจาะตลาดผู้ใช้กล้องมือใหม่ในยุค Social  โดนใจคนรุ่นใหม่ที่ชอบแชร์ภาพถ่ายทันทีที่ถ่ายเสร็จ  ในราคาที่เป็นเจ้าของได้ไม่ยาก

ด้วยราคา 18,900 บาทและลูกเล่นฟังก์ชั่นมากมายที่โดนใจคนรุ่นใหม่ยุค Social Network  ที่ชอบถ่ายภาพและแชร์ให้เพื่อนได้เห็นแบบทันทีทันใดบน Facebook, Instagram, Flickr, Twitter, Picasa หรืออื่นๆ

SONY DSC

หลังจากวางจำหน่ายไปแล้ว 1 เดือน  ก็มีกระแสตอบรับและพูดถึงบ้างพอสมควรในวงการกล้อง  แต่ไม่แรงนัก เพราะในช่วงเวลานั้น เมื่อพูดถึงกล้องเปลี่ยนเลนส์ได้แบบ Mirrorless  คนทั่วไปจะนึกถึงเจ้าตลาดอย่าง Sony NEX ที่บุกตลาดกล้อง Mirrorless มายาวนานกว่า 3 ปี และยังได้พรีเซนเตอร์คนดังอย่าง น้องเต้ย จรินทร์พร ในโฆษณา TVC ที่เห็นกันบ่อยๆ  ส่วน Samsung เน้นไปโฆษณากล้องรุ่นระดับบนอย่าง NX300 มากกว่า  ที่เน้นเรื่องความเร็วชัตเตอร์เป็นจุดขาย คนทั่วไปจึงยังไม่รู้จัก NX2000 ซึ่งรุ่นนี้เป็นคู่แข่งกับกล้องยอดฮิต Sony NEX-3N โดยตรง

SONY DSC

SONY DSC

SONY DSC

SONY DSC

SONY DSC

SONY DSC

SONY DSC

SONY DSC

ซัมซุงได้นำเข้ากล้อง Mirrorless รุ่น NX2000 มาจำหน่ายในประเทศไทยเพียง 2 สี คือ ขาวและดำ  หลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยนำเข้าสีชมพูมาด้วย แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก  จึงเลือกเฉพาะสีขาวและดำ ซึ่งขายได้ง่ายกว่า ไม่เฉพาะกลุ่มเหมือนสีชมพู  โดยส่วนตัวแล้ว สีขาวดูสวยงามกว่าสีดำค่อนข้างมาก แต่ก็ต้องระมัดระวังรอยเปื้อน  ส่วนวัสดุของตัวกล้อง เป็นพลาสติกผิวด้านแต่ลื่น ไม่เป็นรอยขีดข่วนง่ายเกินไป  ความรู้สึกเมื่อได้สัมผัสตัวกล้อง ยังไม่รู้สึกถึงความพรีเมี่ยม เพราะเป็นรุ่นระดับล่างสุดในกลุ่ม Mirrorless ของซัมซุง

SONY DSC

แบตเตอรี่ขนาด 1130 mAh สามารถใช้งานถ่ายภาพได้ประมาณ 150-300 ภาพ ขึ้นอยู่กับการเปิดกล้องแช่ไว้นานเพียงใด และความละเอียดของภาพถ่ายที่ตั้งไว้  ซึ่งอาจจะไม่เพียงพอกับการออกทริปนอกสถานที่ทั้งวัน ควรมีแบตเตอรี่สำรองไว้อีกก้อน

SONY DSC

SONY DSC

หน่วยความจำเป็นแบบ microSD  ภาพถ่ายแต่ละภาพ ใช้พื้นที่ 7-10 MB เมื่อตั้งความละเอียดไว้สูง

SONY DSC

SONY DSC

SONY DSC

SONY DSC

SONY DSC

กล้องรุ่นนี้ไม่มีไฟแฟลช ต้องใช้แฟลชเสริมภายนอก  เลนส์คิทที่แถมมาทำด้วยพลาสติกล้วนในทุกชิ้นส่วน หน้าเลนส์ค่อนข้างแคบ  มีปุ่มสั่งงานบนตัวเลนส์

SONY DSC

ชาร์จแบตเตอรี่ภายในกล้อง  ใช้ที่ชาร์จเหมือนกับ Android Smartphone ทั่วไปคือขั้วต่อแบบ microUSB นั่นเอง  มีหน้าจอขนาดใหญ่  แต่เป็นหน้าจอที่มีมุมมองแคบมาก จอภาพไม่ตัดแสงสะท้อน มีปัญหาเมื่อใช้งานกลางแจ้ง โดยรวมแล้วภาพบนจอกล้อง ดูไม่สวยงามเลย แต่เมื่อดูบนคอมพิวเตอร์ ก็ถือว่าค่อนข้างน่าพอใจกับคุณภาพของภาพถ่าย

SONY DSC

เปิดปิดด้วยสวิตช์ที่ไม่ต้องใช้แรงเยอะ แค่เขี่ยเบาๆ ปุ่มชัตเตอร์น้ำหนักเบา  ยังให้ความรู้สึกไม่ Pro เท่ากล้อง DSLR แบรนด์ญี่ปุ่น ปุ่มวงแหวนและปุ่มสั่งงาน มีเท่าที่จำเป็น เพื่อให้ผู้ใช้รู้สึกว่าใช้งานได้ง่าย

SONY DSC

Direct Link สำหรับเชื่อมต่อโดยตรง ถ่ายโอนภาพถ่ายได้ค่อนข้างสะดวก  จุดเชื่อมต่อสายคล้องคอด้านขวา ให้ความรู้สึกที่เกะกะ ทำให้จับไม่สะดวกนัก มีที่วางนิ้วโป้งห่างจากจอภาพ ทำให้นิ้วไม่ไปรบกวนจอภาพแบบสัมผัส

SONY DSC

ฐานกล้องก็เช่นเดียวกับกล้อง Samsung ทั่วไป  ใส่ขาตั้งกล้องได้

SONY DSC

สายคล้องคอมีความกว้างน้อยกว่ากล้อง DSLR ตัวใหญ่ของแบรนด์ญี่ปุ่นที่เราเคยเห็นกัน แต่ก็มีขนาดที่เหมาะสมและความทนทานที่ไว้ใจได้

SONY DSC

วัสดุของสายคล้องคอ ค่อนข้างให้ความรู้สึกดีเมื่อสัมผัส  แต่เน้นโชว์โลโก้ Samsung มากเกินไป

SONY DSC

SONY DSC

Hot shoe สำหรับเชื่อมต่อกับแฟลชและอุปกรณ์เสริม

SONY DSC

จอภาพสีไม่สวย เป็นระบบสัมผัสที่สั่งงานได้ค่อนข้างยาก ต้องจิ้มซ้ำหลายครั้ง  เมนูที่โดยรวมแล้ว มีความซับซ้อนมาก ใช้งานยากกว่าคู่แข่ง  เข้าเมนูไปลึกและ GUI ยังไม่ค่อยมีความเป็น User friendly

SONY DSC

SONY DSC

จุดเด่นของกล้องรุ่นนี้คือ ใช้ Sensor ขนาดใหญ่แบบ APS-C เท่ากล้อง DSLR รุ่นระดับกลาง-ล่าง  แต่ใหญ่กว่ากล้อง Compact ทั่วไป  แชร์ภาพถ่ายได้ง่ายด้วย NFC และ Wi-Fi  มีโหมดสมาร์ทค่อนข้างมากมายให้เลือกใช้

SONY DSC

ถ่ายภาพได้ 8 เฟรมต่อวินาที แต่ถ้าปรับไม่ดี จะเบลอทั้ง 8 ภาพ ต้องตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้เหมาะสมด้วย

SONY DSC

แชร์ภาพถ่ายเข้าโทรศัพท์มือถือได้ทันทีหากมีการเชื่อมต่อไว้

SONY DSC

ปุ่ม i-Fn ที่ตัวเลนส์ ทำให้ปรับการตั้งค่าที่สำคัญได้ง่ายและรวดเร็ว ได้แก่ ค่าความไวแสงหรือ ISO, ความเร็วชัตเตอร์, คามกว้างของรูรับแสง, สมดุลแสง และสุดท้ายการชดเชยแสง

SONY DSC

ในกล่องแถม Adobe Lightroom 4 ตัวเต็มมาด้วย จุดนี้น่าพอใจมาก เพราะซอฟต์แวร์ตัวนี้มีความจำเป็นต้องใช้ในการปรับแต่งภาพถ่ายแบบสั่งแก้ไขครั้งละหลายภาพหรือทั้งอัลบั้ม และราคาขายค่อนข้างสูง

SONY DSC

SONY DSC

นำกล้อง NX2000 ไปแตะกับ Samsung Galaxy เพื่อเชื่อมต่อกันด้วย NFC  สั่งแชร์ให้ทุกภาพที่ถ่าย ถูกโอนแบบสำเนามาที่ Smartphone ทันทีที่เรากดชัตเตอร์  แต่ฟังก์ชั่นนี้อาจไม่จำเป็นสำหรับคนส่วนใหญ่ และกล้องก็สามารถแชร์ภาพถ่ายได้โดยตรงอยู่แล้ว ผ่าน Wi-Fi เข้า Facebook หรืออื่นๆ

SONY DSC

SONY DSC

ขนาดในมือถือ ค่อนข้างเล็ก น้ำหนักเบา ผู้ชายมือใหญ่บางคนอาจรู้สึกว่ายังจับไม่ถนัดมือเท่าไรนัก

Specification ของกล้อง Samsung NX2000

  • 20.3 MP APS-C CMOS Sensor
  • ความเร็วชัตเตอร์ 1/4000
  • Contrast AF
  • ถ่ายภาพเร็ว 8 ภาพต่อวินาที ด้วยความละเอียดสูงสุด
  • Wi-Fi Connectivity
  • 3.7″ WVGA TFT LCD Display with Touch, 1,152k dots
  • Single/Continuous/Manual/Touch/Tracking AF
  • ใส่ Smart Filter กับภาพก่อนถ่ายหรือหลังถ่ายได้
  • Smart Auto 2.0 ปรับโหมดภาพถ่ายให้อัตโนมัติ
  • ปรับค่า ISO ได้สูงถึง 25600
  • Smart Filter & Selective Color
  • Panorama, 3D Panorama
  • i-Function 2.0
  • i-Zoom ได้สูงสุดอีก 2 เท่า
  • Smart Panel
  • ถ่ายภาพสามมิติได้ทั้งภาพนิ่งและวิดีโอ
  • บันทึกวีดีโอ ความคมชัดระดับ Full HD 1080P Stereo Movie Recording
  • แบตเตอรี่ 170 นาที / 340 shots (CIPA standard); 1130mAh
  • วิดีโอที่ 30 fps (3 มิติได้ที่ 30 fps)
  • NFC เพื่อเชื่อมต่อกล้องกับ Samsung Smart Camera App ทันที
  • Adobe Lightroom 4
  • Smart Mode 14 modes
  • Direct link ควบคุมการทำงาน WiFi ได้เพียงปุ่มเดียว
  • Auto share บันทึกภาพจากกล้องลงมือได้ทันที
  • Mobile link โอนภาพจากกล้องเข้ามือถือได้
  • โหลดภาพขึ้น Facebook, Youtube ได้ทันที
  • ส่ง e-mail ได้จากตัวกล้องอย่างง่ายดาย
  • บันทึกภาพลงคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องใช้สาย กับ i-Launcher
  • สั่งถ่ายภาพจากมือถือด้วย remote viewfinder
  • รองรับการสำรองไฟล์ที่ Microsoft Skydrive
  • ดูภาพบน LCD / LED TV ได้ผ่านเทคโนโลยี All share

 

SONY DSC

มาดูตัวอย่างภาพถ่ายจาก Samsung NX2000 กันบ้าง  คลิกและกดปุ่มซ้าย-ขวา เพื่อเลื่อนดูภาพใหญ่ทีละภาพ

สรุปผลคะแนนการทดสอบใช้งานกล้อง Samsung NX2000

6/10 คุณภาพของภาพถ่าย
4/10 ความง่ายในการใช้งาน
7/10 ลูกเล่น ความสามารถ
6/10 ประสิทธิภาพ
3/10 วัสดุและความทนทาน
5/10 ความสวยงามและการออกแบบ
6/10 ความสะดวกในการพกพา
2/10 ความหลากหลายของอุปกรณ์เสริม
3/10 ราคาและความคุ้มค่า
6/10 ระยะเวลาของแบตเตอรี่
8/10 การเชื่อมต่อเพื่อแชร์ภาพถ่าย

ข้อสังเกต
– ไม่สามารถพิมพ์ภาษาไทยได้จากตัวกล้อง เมื่อต้องการแชร์ภาพถ่ายบน Social Network
– จอภาพคุณภาพต่ำมาก ปรับมุมเงยไม่ได้ แสงรบกวนทุกสถานการณ์ ดูไม่ออกว่าภาพที่ถ่ายแล้วมีปัญหาหรือไม่
– มีความร้อนพอสมควรเมื่อเปิดใช้งานนาน แบตเตอรี่ควรจะบอกเป็นเปอร์เซ็นต์ และไม่ละเอียดแม่นยำพอ
– ให้ความรู้สึกเหมือนของเล่นพลาสติกที่ไม่มีความหรูหราเลย
– แชร์ภาพบน Social ได้ยากและไม่สะดวกนัก ด้อยกว่ากล้อง Samsung Galaxy Camera อย่างชัดเจน
– ต้องถือถ่ายภาพและมองจอในระดับสายตาเท่านั้น  เพราะจอภาพมุมมองแคบ
– ความแม่นยำของระบบทัชสกรีนยังไม่ดีพอ อาการเหมือนโทรศัพท์มือถือเครื่องละ 2 พันกว่าบาท ที่ต้องจิ้มสั่งงานซ้ำๆ
– เลนส์ราคาค่อนข้างสูงและหาซื้อได้ไม่ง่ายนัก  เลนส์ที่มีให้เปลี่ยนก็ยังไม่รู้สึกว่ามีจุดเด่นอะไรน่าสนใจ
– ต้องปรับปรุงให้เมนูใช้งานง่ายเหมือนการถ่ายภาพด้วย Smartphone หรือใช้ไอคอนกราฟฟิคที่เข้าใจง่ายกว่านี้
– เสียงชัตเตอร์ที่ขาดเสน่ห์และความหนักแน่น ดูไม่เป็นมืออาชีพ
– ประมวลผลได้ช้ามาก รอนานจนค้างบ่อย ต้องถอดแบตเตอรี่ออก
– ถ่ายภาพแบบ Burst shot มีอาการให้เห็นว่ากล้องบันทึกภาพลงหน่วยความจำไม่ทัน
– ระบบการวัดแสงและโฟกัสที่ผิดพลาดบ่อยเกินไป ต้องใช้การสัมผัสบนจอภาพหรือเทคนิคอื่นเข้าช่วย
– คุณภาพของไฟล์ภาพ สีสัน และการบีบอัดภาพ JPEG ยังไม่อยู่เกณฑ์ที่น่าพอใจ
– ตำแหน่งของจุดยึดสายคล้องคอด้านขวา ทำให้ถือกล้องได้ลำบาก สายคล้องคอเกะกะมือ
– ไมมีไฟแฟลชในตัว และไม่แน่ใจว่ามีแถมเป็นอุปกรณ์เสริมหรือไม่ เพราะไม่ได้รับมาในการทดสอบ
– เลนส์คิท ถ่ายมาโครได้ แต่ต้องเว้นระยะห่างมากกว่า 15 ซม. ระหว่างหน้าเลนส์กับวัตถุ

________________________________________________________________

เรียบเรียงบทความและถ่ายภาพโดย วรพล ลิ่มศิริวงศ์ (Worapol Limsiriwong)

540109_598503986858477_815096020_nติดต่อทำข่าว PR งานแถลงข่าวเปิดตัว / รีวิวผลิตภัณฑ์
โทร. 08-7909-7000   ●  Google+ : worapol@gmail.com
facebook.com/nextinth  ●  twitter.com/digitalnext

ท่านสามารถนำบทความนี้ไปเผยแพร่ได้ในสื่อทุกประเภท
แต่ต้องทำลิงค์อ้างอิงมายังบทความหน้านี้ เพื่อให้เครดิต
และควรขออนุญาตก่อนนำภาพถ่ายในบทความไปใช้

ใส่ความเห็น